รถเข็น
In association with
TH | ENG

คำถามที่พบบ่อย

A. ตอบ โพรไบโอติก คือจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ได้แก่ แบคทีเรีย และยีสต์ ซึ่งเป็นที่ทราบดีแล้วว่ามีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพเมื่อรับประทานหรือนำมาใช้กับร่างกาย โพรไบโอติกส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรีย แบคทีเรียที่ดีนี้พบได้ในนมเปรี้ยวและอาหารหมักดอง จุลินทรีย์สุขภาพเหล่านี้เป็นเชื้อชนิดเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันกับที่พบได้ตามธรรมชาติในร่างกายของเราเอง

A. ตอบ แบคทีเรียสุขภาพที่พบบ่อยที่สุดจัดอยู่ในกลุ่มสองกลุ่ม คือ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) และ บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium)

A. ตอบ การมีกลุ่มของจุลินทรีย์หรือ “ไมโครไบโอต้า” ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการคงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดี การรับประทานโพรไบโอติก ช่วยคงสภาวะให้มีกลุ่มของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อยู่ในร่างกาย หรือช่วยให้ร่างกายได้แบคทีเรียที่ดี ซึ่งได้ถูกทำลายไปจากโรคภัยไข้เจ็บหรือจากยา เช่น ยาปฏิชีวนะ ให้กลับคืนมา

โพรไบโอติก ช่วยสร้างผลที่พึงปรารถนาในการต่อสู้กับความเจ็บป่วย และโน้มน้าวให้เกิดการตอบสนองของร่างกาย

A. ตอบ โพรไบโอติก ที่ต่างชนิดกันมีคุณประโยชน์ที่แตกต่างกัน และประโยชน์ต่อสุขภาพจะมีความเฉพาะเจาะจงกับสายพันธ์ของจุลินทรีย์ ซึ่งมักใช้รหัสประจำตัวแสดงถึงสายพันธุ์นั้น ตัวอย่างเช่น สายพันธุ์ที่เฉพาะเจาะจงของแลคโตบาซิลลัส อาจช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย ในขณะที่สายพันธุ์อื่นอาจไม่ช่วย

A. ตอบ “พรีไบโอติก” คือ องค์ประกอบของอาหารที่ไม่สามารถย่อยได้ ซึ่งเลือกกระตุ้นการเติบโตหรือการทำงานของโพรไบโอติก

ส่วน “ซินไบโอติก” คือผลิตภัณฑ์ผสมที่มีทั้งพรีไบโอติกส์และโพรไบโอติก

*National Institutes of Health https://nccih.nih.gov


  • A. ตอบ โพรไบโอติก มีประวัติศาสตร์ที่แพร่หลายของความปลอดภัยในการใช้ โดยเฉพาะในคนสุขภาพดี อย่างไรก็ดีมีการศึกษาวิจัยไม่กี่โครงการที่ดูความปลอดภัยของโพรไบโอติกอย่างละเอียดถี่ถ้วน จึงยังไม่มีข้อมูลที่เป็นรูปธรรมพอของความถี่และความรุนแรงของผลข้างเคียงของโพรไบโอติก
  • ความเสี่ยงที่จะเกิดผลที่เป็นอันตรายจากโพรไบโอติกในคน ซึ่งมีภาวะความเจ็บป่วยอย่างรุนแรง หรือ มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง จะสูงกว่าคนทั่วไป เมื่อมีการพิจารณาว่าจะให้โพรไบโอติกในบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือ ผู้ป่วยหนักซึ่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จะต้องชั่งน้ำหนักอย่างระมัดระวังรอบคอบระหว่างความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเทียบกับคุณประโยชน์ที่จะได้

  • ผลที่อาจเป็นอันตรายของโพรไบโอติก รวมถึง การติดเชื้อ การสร้างสารที่เป็นอันตรายโดยจุลินทรีย์สุขภาพ (โพรไบโอติก) และการผ่องถ่ายยีน (หน่วยควบคุมพันธุกรรม) ที่ดื้อยาปฏิชีวนะจากจุลินทรีย์สุขภาพไปยังจุลินทรีย์อื่นในทางเดินอาหาร

  • เคยมีรายงานว่าผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกบางชนิด บรรจุจุลินทรีย์ที่นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในฉลาก ในบางกรณีการปนเปื้อนเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ

A. ตอบ สมควรปรึกษาแพทย์ของท่านเสมอก่อนใช้ผลิตภํณฑ์เสริมอาหารใด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากท่านคิดจะใช้โพรไบโอติกและท่านมีภาวะผิดปกติที่ร้ายแรงด้านสุขภาพ แพทย์ของท่านจะแนะนำโพรไบอติกที่เหมาะสมกับภาวะของท่านอย่างผู้สันทัดกรณี

A. ตอบ ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการวิจัยเรื่องโพรไบโอติกเป็นจำนวนมาก  และแม้จะมีโครงการวิจัยขนาดเล็กในมนุษย์หลายโครงการที่แสดงว่าโพรไบโอติกมีคุณประโยชน์ แต่ก็ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยขนาดใหญ่อีกหลายๆโครงการเพื่อพิสูจน์คุณประโยชน์ต่อสุขภาพที่หลากหลายของจุลินทรีย์เหล่านี้ ซี่งรับประทานเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

การวิจัยในปัจจุบันมุ่งเน้นศึกษาภาวะที่ผิดปกติดังต่อไปนี้

  • - ภาวะที่ผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal Conditions)
  • - ภาวะท้องเสียอันเนื่องมาจากการได้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic-Associated Diarrhea)
  • - ภาวะเป็นสิว (Acne)
  • - ภาวะการติดเชื้อ คลอสไทรเดียม ดิฟิซายล์ (Clostridium difficile Infection)
  • - ภาวะท้องผูก (Constipation)
  • - ภาวะท้องเสียจากการรักษามะเร็ง (Diarrhea Caused by Cancer Treatment)
  • - โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ (Diverticular Disease)
  • - โรคลำไส้อักเสบ (Inflammatory Bowel Disease)
  • - โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome)
  • - กลุ่มอาการท้องเสียในนักท่องเที่ยว (Traveler’s Diarrhea)
  • - ภาวะที่ผิดปกติในทารก (Conditions in Infants)
  • - อาการจุกเสียดท้องในทารก (Infant Colic)
  • - ภาวะลำไส้เน่าตายและมีการทะลุของผนังลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ (Necrotizing Enterocolitis)
  • - ภาวะพิษเหตุติดเชื้อในทารก(Sepsis in Infants)
  • - ความผิดปกติทางทันตกรรม (Dental Disorders)
  • - ฟันผุ (Dental Caries (Tooth Decay) )
  • - โรคเหงือก (Periodontal Diseases (Gum Disease) )
  • - ภาวะผิดปกติที่เกี่ยวกับภูมิแพ้ (Conditions Related to Allergy)
  • - ภาวะเยื่อจมูกอักเสบเหตุภูมิแพ้ (ไข้ละอองฟาง) (Allergic Rhinitis (Hay Fever) )
  • - หอบหืด (Asthma)
  • - ภาวะผิวหนังอักเสบเหตุภูมิแพ้ (Atopic Dermatitis)
  • - การป้องกันภาวะภูมิแพ้ (Prevention of Allergies)
  • - ภาวะผิดปกติอื่น ๆ (Other Conditions)

นักวิจัย ยังกำลังทำการศึกษาว่าสายพันธุ์ใดของโพรไบโอติก มีประสิทธิผลมากกว่าเพื่อน และ จะต้องรับประทานเข้าไปในจำนวนเท่าใดเพื่อให้ได้ผล นอกจากนี้นักวิจัยยังมีความเห็นที่แตกต่างกันออกไปตรงที่ว่าการรับประทานโพรไบโอติกเพียงสายพันธุ์เดียวหรือหลายสายพันธุ์ในหนึ่งแคปซูลหรือเม็ด แบบไหนจะมีประสิทธิผลมากกว่ากัน

 ได้มีการพบแล้วว่าโพรไบโอติก น่าจะมีความสำเร็จเป็นอย่างมากทีเดียว สำหรับใช้ในภาวะที่ผิดปกติหลากหลายชนิดดังต่อไปนี้

  • - การป้องกันภาวะท้องเสียที่เกิดจากการได้ยาปฏิชีวนะ (รวมถึงภาวะท้องเสียจากเชื้อ คลอสทีเดียม ดิฟืลิซายล์)
  • - การป้องกันภาวะลำไส้เน่าตายและมีการทะลุของผนังลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ และภาวะพิษเหตุติดเชื้อในทารกที่คลอดก่อนกำหนด
  • - การรักษาอาการจุกเสียดท้องในทารก โรคเหงือก
  • - การเหนี่ยวนำให้เกิด หรือ การคงไว้ ซึ่งสภาวะที่ไม่มีอาการของโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป้นแผลเรื้อรัง (ulcerative colitis)

A. ตอบ โดยทั่วไปแล้วมีการจำหน่ายโพรไบโอติกเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  และแม้ว่าในหลายๆประเทศในทวีปเอเซียจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติโดย อย. แต่ในสหรัฐอเมริกาและประเทศในทวีปยุโรปส่วนมากไม่มีความจำเป็น

โดยไม่อนุญาตให้กล่าวอ้างสรรพคุณทางคุณภาพของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น ความสามารถในการรักษาหรือ ลดความเสี่ยงของโรค แต่อาจกล่าวอ้างบนฉลากได้ว่าผลิตภํณฑ์ส่งผลต่อโครงสร้าง หรือการทำงานของร่างกายโดยไม่ต้องได้รับอนุมัติจาก อย.

*National Institutes of Health https://nccih.nih.gov